วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

6.นักข่าวออนไลน์



นักข่าวออนไลน์" มนุษย์พันธุ์พิเศษที่ต้องติวเข้มทุกอย่าง
                     ชมรมผู้ผลิต ข่าวออนไลน์ เปิดฉากอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวออนไลน์ รุ่นที่ 1 กูรูถ่ายทอดเทคนิคพิชิตชัยบนเว็บข่าว ขณะที่ ผู้เข้าอบรม ปลื้มได้ใช้ประโยชน์จริงในงานเว็บข่าว...
เพิ่งจะผ่านไปหมาดๆ สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวออนไลน์ รุ่นที่ 1 โดยชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และความร่วมมือจาก บมจ. ทีโอที และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค ที่นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่จัดอ เช่นเดียวกับ การรวมตัวครั้งแรก ของทั้งนักข่าวภาคสนามแทบทุกสาย นักข่าวประจำเว็บไซต์ข่าว นักแปลข่าว และเว็บมาสเตอร์ แม้จะหลากหลายหน้าที่ แต่ก็ล้วนสำคัญ เพราะเป็นผู้ผลิตข่าวขึ้นเว็บไซต์ ดังนั้น บรรยากาศการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จึงถูกบีบ และอัดแน่นด้วยสาระความรู้ ตามหัวข้อที่ครอบคลุมรอบด้าน อาทิ หัวข้อเทคนิคการคิดประเด็นและใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอข่าวออนไลน์ โดย นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธ์ หัวข้อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสนทนากับบรรณาธิการข่าวออนไลน์ โดย นายนิรันดร์ เยาวภาว์ เว็บมาสเตอร์  HYPERLINK "http://www.manager.co.th"www.manager.co.th นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ที่ปรึกษาบก.เว็บไซต์  HYPERLINK "http://www.thairath.co.th"www.thairath.co.th และ นางสาวชุตินธรา วัฒนกุล เครือเนชั่น หัวข้อจริยธรรมและกฎหมายที่ควรรู้ในการเสนอข่าวออนไลน์ โดย นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษากฎหมายชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และหัวข้อนักข่าวออนไลน์กับการใช้งานโซเชียลมีเดียให้ถูกวิธี โดย นายมานะ ตรีรยาภิวัฒน์ อาจารย์คณะนิเทศศาตร์  ม.หอการค้าไทย และ นางสาวมรกต คนึงสุขเกษม บก.รข่าวไอที นสพ.กรุงเทพธุรกิ นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวในช่วงแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสนทนากับบรรณาธิการข่าวออนไลน์ว่า ตามปรากฎในวิทยานิพนธ์ เนื้อหาข่าวบนเว็บที่ผู้บริโภคอยากอ่านมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เบรกกิ้งนิวส์ ข่าวหน้า 1 และข่าวไอที ตามลำดับ พร้อมยกประโยคที่ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ เคยระบุว่าปี 2558 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า โซเชียลมีเดีย จะเป็นสื่อกระแสหลัก ส่วนหนังสือพิมพ์ก็ยังไม่ตาย นางสาวชุตินธรา วัฒนกุล เครือเนชั่น เปิดเผยว่า ขณะนี้ มีหลายเว็บใส่รูปนักข่าว หรือ คีย์เวิร์ด เข้าไปด้วย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์แบบ พร้อมการแลกเปลี่ยนข่าวด้วย เพื่อให้เกิดทราฟฟิกใหม่ๆ เข้ามาหา นอกจากนี้ เวลาทำข่าวออนไลน์ ยังต้องนำจุดเด่นของออนไลน์มาใช้ด้วย เช่นลิ้ง URL เพื่อให้เกิดความเป็นมัลติมีเดีย นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษากฎหมายชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวว่า จริยธรรมการนำเสนอข่าวออนไลน์ ประกอบด้วย 11 ข้อ ได้แก่ 1.ถ้าใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค อาทิ ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ค หลังได้ข้อมูลมา ต้องให้กลับไปมากเท่านั้น แต่ต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง 2.อย่าทำตัวเป็นแกงค์เตอร์ออนไลน์ คล้ายขบวนการล่าแม่มด 3.เพิ่มข้อมูลข่าวสารที่ดี 4.อย่าทำลายข้อมูลคนอื่น เมื่อบางครั้งแหล่งข่าวทวิตขึ้น แล้วรู้สึกว่ามันไม่ถูก 5.การสร้างตัวเองให้เป็นกระแสไม่ควรทำผิดกฎหมาย และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 หรือ พรบ.คอมฯ 6.แลกเปลี่ยนความรู้ 7.เก็บข้อมูลไม่ให้ลุกลาม 8.หาแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ แล้วทวิตออกไป หรือรีทวิต จากแหล่งที่ดีๆอออกไป 9.อย่าวางอำนาจ 10.ต้องรับผิดชอบ ข่าวที่ออกไป และ11. เป็นสุภาพชนอทั้งโลกความจริง และโลกออนไลน์ นายมานะ ตรีรยาภิวัฒน์ อาจารย์คณะนิเทศศาตร์  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยืนยันว่า ในอนาคต นักข่าวหนีไม่พ้นโซเชียลเน็ตเวิร์ค ทั้งนี้ กระบวนการจะเน้นการแลกเปลี่ยน ยิ่งแลกเปลี่ยนยิ่งเกิดการใช้ ยิ่งใช้มากยิ่งเกิดข้อมูล นอกจากนี้ นักข่าวออนไลน์ จำเป็นต้องเป็นหัวหอกในอนาคต วารสารสาสตร์ในอนาคต คือ การเล่าเรื่อง แต่จะเล่าผ่านอะไร ในโลกของอนาคตออนไลน์  อาจารย์คณะนิเทศศาตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อธิบายว่า ในโลกออนไลน์ คือ ความเร็ว แต่สิ่งที่มากับความเร็ว คือ ความผิดพลาด ความเร็วนำมาซึ่งความผิดพลาด และขาดทักษะบางอย่าง บางทีทวิตเตอร์เป็นเพียงข่าวลือ แต่ไม่มีความถูกต้อง ขณะที่โซเชียลมีเดียไม่ใช่พื้นที่ส่วนตั  นางสาวมรกต คนึงสุขเกษม บรรณาธิการข่าวไอที หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ แนะว่า การเริ่มต้นใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค ต้องมีสติ คิดให้รอบคอบก่อนว่า จะมีผลกระทบกับคนรอบข้าง หรือสะท้อนกลับมาที่ตัวเองหรือไม่ รวมทั้งแง่กฎหมายด้วย ที่สำคัญคือให้มองว่าเหมือนการใช้งานในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม หากโซเชียลมีเดีย เข้ามาแล้วจะต้องเดินไปกับมันบนพื้นฐานของความเป็นจริง และไม่จบลงเร็วๆ นี้ เพราะระยะพัฒนาการน่าจะประมาณ 10 ปี นอกจากการรับฟังความรู้แล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำข่าวออนไลน์อย่าง ละเอียด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ไปพร้อมๆ กัน รวมทั้ง ทำกิจกรรมเวิร์คชอปที่ผู้เข้าร่วมทุกคนได้ปฏิบัติงานจริง นายสมชาติ บุญวิทยา เว็บมาสเตอร์ หนังสือพิมพ์สยามกีฬา ยอมรับว่า สิ่งที่ประทับใจคือ การได้พบเพื่อนใหม่ และแลกเปลี่ยนความรู้รวมถึงการทำกิจกรรมร่วมกัน นอกจากนี้ ยังต้องการให้จัดเวิร์คช็อปเฉพาะด้าน เพื่อความเข้าใจเชิงลึก สำหรับหัวข้อที่สนใจเป็นพิเศษ คือ เทคนิคการคิดประเด็นข่าวและการนำเสนอข่าวออนไลน์ โดย นายประสงค์ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสนทนากับบก.ข่าวออนไลน์ เพราะได้รับรู้เทคนิคและนำมาใช้ได้จริง หัวข้อ เทคนิคการคิดประเด็นข่าว ที่นายประสงค์ เพราะอย่างน้อยทำให้รู้จักหยิบประเด็น รู้ว่าอย่ามองข่าวเพียงผิวเผิน และชอบตรงที่ข่าวเดียวกัน แต่เราเลือกหยิบประเด็นที่แตกต่างแล้วน่าสนใจขึ้นมาเว็บมาสเตอร์ หนังสือพิมพ์สยามกีฬา กล่าวขณะที่ นางสาววิภาวี บุญศิริชัย ผู้เรียบเรียงข่าว ส่วนพัฒนาเว็บไซต์ บมจ.อสมท. เล่าว่า ดีใจที่มาเจอคนทำงานลักษณะเดียวกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน ทั้งความรู้ ปัญหา รูปแบบการทำงานออนไลน์ เพื่อนำไปปรับใช้กับองค์กร นอกจากนี้ ยังประทับใจเนื้อหาการอบรมให้ก้าวทันเทรนด์เทคโนโลยี ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่าการทำข่าวออนไลน์ ต้องใช้จิตวิทยาประกอบด้วย  มองว่าต้องใช้จิตวิทยาในการทำเว็บ ทำอย่างไรให้น่าเชื่อถือ และฉีกออกจากชาวบ้าน อาจจะใส่ภาพกราฟฟิก เอามาเบรกข้อมูลยาว เพราะข่าวเว็บหากเทียบกับหนังสือพิมพ์ ต้องนำเสนอเปรี้ยงทีเดียวแบบกระชับ เร็ว ถูกต้อง เพราะทุกอย่างเป็นการแข่งขันผู้เรียบเรียงข่าว ส่วนพัฒนาเว็บไซต์ บมจ.อสมท.กล่าว  การอบรมครั้งนี้ มีเสียงกระซิบจากประธานชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ว่า ยังมีหัวข้อที่คณะผู้จัดตั้งใจจะบรรจุลงมาถูกตัดทิ้งไปหลายเรื่องด้วย พร้อมกับการนำเสนอผลงานเวิร์คช็อป การคิดประเด็นและการเสนอข่าวออนไลน์ จนทำให้ระยะเวลาการเข้าอบรมครั้งนี้ผ่านไปอย่างรวดเร็ว และปิดฉากลงอย่างสวยงาม โดยเหลือไว้เพียงผลงานที่หลังจากนี้ มนุษย์พันธุ์พิเศษ จะปั้นเว็บข่าวให้กลายเป็นอีกหนึ่งสื่อกระแสหลักที่น่าจับตามอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น