วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

บทความ Internet


อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
เนื้อหา   
1 ที่มา
2 การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
3 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก
4 อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
4.1 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
4.2 อินเทอร์เน็ตแบนด์วิท
5 ดูเพิ่ม
6 หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง
7 อ้างอิง
8 แหล่งข้อมูลอื่น
ที่มา
อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต

การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิเช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail) , สนทนา (Chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ดการติดตามข่าวสารการสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูลการชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์ การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯการติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning), การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรือ อื่นๆ
แนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ตคือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายสังคม ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไฮไฟฟ์ และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายขึ้นมาก
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก
ไฟล์:Worldint2008pie.png
สัดส่วนการผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแยกตามทวีปที่มา: http://www.internetworldstats.com/stats.htm
ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 2.095 พันล้านคน หรือ 30.2 % ของประชากรทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือน มีนาคม 2554) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่างๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เอเชีย โดยคิดเป็น 44.0 % ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด และประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 384 ล้านคน
หากเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับจำนวนประชากรรวม พบว่าทวีปอเมริกาเหนือมีสัดส่วนผู้ใช้ต่อประชากรสูงที่สุดคือ 78.3 % รองลงมาได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย 60.1 % และ ทวีปยุโรป คิดเป็น 58.3 % ตามลำดับ
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"
การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย [1]
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน) ... ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.99 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 28.2 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 10.96 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.2 [2]
อินเทอร์เน็ตแบนด์วิท
ปัจจุบัน (มกราคม 2553) ประเทศไทยมีความกว้างช่องสัญญาณ (Internet Bandwidth) ภายในประเทศ 110 Gbps และระหว่างประเทศ 110 Gbps

1. 7 เทคนิคใช้โซเชียลมีเดีย


           พออ่านข้อความนี้แล้วลองคิดตาม ว่า เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้ความสุขลดลงจริงหรือไม่ หลายครั้งผมเองก็หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมือสื่อสารต่างๆ ในยามพักผ่อน ลองนึกดูว่า คนที่ต้องเกาะติดอยู่กับโซเชียลมีเดีย ตลอดจะมีความสุขได้อย่างไร มีเทคนิคดังนี้
1. ใช้โซเชียลมีเดียให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตน เว็บโซเชียลมีเดียที่ มีกันอยู่หลากหลายนั้น ต่างมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน เช่น เฟซบุ๊ค สามารถสื่อสารได้ทั้งตัวอักษรและรูปภาพ หรือบริการบล็อกสั้นอย่างทวิตเตอร์นั้น ใส่ได้เฉพาะตัวอักษร หากมองกันดีๆ ทวิตเตอร์ ไม่สูบพลังงานมากเท่าเฟซบุ๊ค
2. ใช้ช่วยเหลือผู้อื่น ลองใช้ความสามารถ ความรู้ หรือประสบการณ์ของคุณที่มีอยู่ นำไปตอบคำถามของเพื่อนๆ หรือบางครั้งตอบให้กับคนที่ไม่รู้จักบ้าง ซึ่งการทำแบบนี้ก็จะทำให้รู้สึก ว่า สามารถช่วยเหลือคนอื่นในเรื่องที่ตนเองถนัด บางครั้งอาจไม่ใช่แค่การตอบคำถาม แต่เป็นการช่วยบอกต่อ เท่ากับช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับความช่วยเหลือมากขึ้น
3. ใช้สอบถามความคิดเห็น ที่ตัดสินใจไม่ถูกว่า จะเลือกทางไหนดี ให้ลองเขียนลงบนเฟซบุ๊ค หรือทวิตเตอร์ ถามไปในโซเชียลเน็ตเวิร์คเหล่านั้น บางครั้งก็จะได้คำตอบที่ดีเกินคาด
4. ใช้ระบบส่งข้อความแบบส่วนตัวเพื่อสื่อสารเรื่องธุรกิจ ลองหันมาใช้ direct message ในทวิตเตอร์ หรือส่งข้อความส่วนตัวไปในเฟซบุ๊ค บางทีเพื่อนๆ หรือคนที่ติดตามอ่านเฟซบุ๊คของคุณอยู่ อาจอยากรู้ว่าคุณทำธุรกิจอะไร ที่ไหน บางครั้งเขาอาจกำลังมองหาคู่ค้าที่คุณถนัดอยู่พอดี หรือหากติดต่อสื่อสารกันไปได้จนสนิทสนม อาจสามารถต่อยอดไปยังธุรกิจได้
5. ใช้เพื่อให้มีเพื่อนคอยปรึกษา หลายครั้งที่เราเกิดความเครียดจากการทำงาน หรือเรียน อาจใช้ทวิตเตอร์หาเพื่อนคุย ต้องระวังว่าอย่าเผลอไปใช้ข้อความที่หยาบคายหรือฟังดูแรงนะครับ เพราะสิ่งเหล่านั้นอาจจะย้อนมาทำร้ายตัวเราได้ในอนาคต เช่น ตอนสมัครงาน เดี๋ยวนี้บางบริษัทมีการแอบไปอ่านเฟซบุ๊คของคนมาสัมภาษณ์ก่อนล่วงหน้า ทั้งนี้ เพื่อเรียนรู้ตัวตนของผู้สมัครที่บางครั้งอาจไม่สามารถสอบถามได้หมดในระยะ เวลาสัมภาษณ์นัดไว้ เป็นต้น
6. ใช้เพื่อหาเพื่อนใหม่ ผมต้องสารภาพก่อนเลยว่าผมได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ หลายคนผ่านโซเชียลมีเดีย ซึ่งเพื่อนเหล่านี้ก็สนใจในเรื่องราวที่ผมสนใจเช่นกัน การพบเจอเพื่อนใหม่ ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องออกไปพบเจอกันตามสถานที่ต่างๆ เสมอไป แต่บางทีการรู้จักการผ่านรูปภาพและตัวอักษร ก็ทำให้เราได้เพื่อนใหม่ง่ายขึ้น มากขึ้น โดยไม่รู้ตัวเชียวครับ
7. ใช้เพื่อหาข้อมูลความรู้ใหม่ ผมมักจะใช้ฟังก์ชันบุ๊คมาร์ค หรือ Add Favorite ของทวิตเตอร์อยู่บ่อยๆ เพราะเมื่อเราพบเห็นข้อความที่ดีๆ หรือเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ ผมก็จะรีบบุ๊คมาร์คเก็บไว้ก่อน แล้วค่อยมาอ่านในภายหลังหากในขณะนั้นเรายังไม่ว่าง ซึ่งผมได้ข้อมูลในการทำงานหลายครั้งจากความพยายามที่จะ Add Favorite ข้อความที่น่าสนใจอยู่ตลอดเวลา
ลองนำไปใช้กันดูนะครับ หวังว่าเทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้ทุกท่านสามารถใช้งานโซเชียลมีเดียอย่าง มีความสุขตลอดปี 2554 และต้องขอขอบคุณภาพประกอบโดย FasTake ด้วยครับ สุดท้ายนี้ ขอกล่าวสวัสดีปีใหม่กับท่านผู้อ่าน แม้ว่าจะได้มาสวัสดีช้าไปเกือบหนึ่งสัปดาห์ก็ตาม

2.โทษของอินเทอร์เน็ต



         ทุกสรรพสิ่งในโลกย่อมมีทั้งด้านที่เป็นคุณประโยชน์และด้านที่เป็นโทษ เปรียบเหมือนเหรียญที่มี 2 ด้านเสมอ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้อย่างไรให้เกิดผลดีต่อเรา ขอยกตัวอย่างโทษที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการใช้งานอินเทอร์เน็ตดังนี้
1.โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic)
        อินเทอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ?
          หากการเล่นอินเทอร์เน็ตทำให้คุณเสียงานหรือแม้แต่ทำลายสุขภาพ นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน โดยเปรียบเทียบกับบรรทัดฐานซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับการติดอินเทอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่างเกี่ยวข้องกับการล้มเหลวในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด)
2.คำว่า อินเทอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเทอร์เน็ตเอง ระบบออนไลน์ (อย่างเช่นบริการ AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเทอร์เน็ต
          รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต
          มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
          ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
          รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
          ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเทอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
          หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวเอง
          การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ ์ ยังใช้อินเทอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
          มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต
          ใช้เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้
          สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน 3 ข้อในช่วงเวลา 1 ปี ถือว่ายังเป็นปกติ จากการศึกษาวิจัยผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คน เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า "ติดอินเทอร์เน็ต" ในขณะที่อีก 100 คนยังนับเป็นปกติ ประกอบด้วยเพศชาย และเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ

         สำหรับผู้ที่จัดว่า "ติดอินเทอร์เน็ต" นั้นได้แสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเทอร์เน็ต
อย่างหนักเหมือนกับการเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหารหรือสุราเรื้อรัง มีผลกระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ
3.เรื่องอนาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)
          เรื่องของข้อมูลต่างๆ ที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆ นั้นเป็นเรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอร์เน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนามากนัก ทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภาพเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอร์เน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สื่อเหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้
4. ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต และระเบิดเวลา
           ไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ
           ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆ กัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และสิ่งที่มันทำนั้นไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย เช่น การแอบส่งรหัสผ่านต่างๆ ภายในเครื่องของเราไปให้ผู้เขียนโปรแกรม
           หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง
           ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆ มาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542
          นอกจากนี้ ยังมีเรื่องหลอกหลวงต่างๆ อีกมากมายที่กลายเป็นข่าวให้เราได้รับทราบอยู่เสมอ การพยายามในการเจาะทำลายระบบเพื่อล้วงความลับหรือข้อมูลต่างๆ ดังนั้น การใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงต้องมีความระมัดระวังในการใช้งาน มีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร กลั่นกรองจากหลายๆ แหล่งเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อจากเหล่ามิจฉาชีพไฮเทคเหล่านี้
อนาคตของอินเทอร์เน็ต
          อนาคตของการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้พัฒนาไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จากเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป โน๊ตบุ๊คไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาที่เรียกกันว่า Palmtop และโทรศัพท์มือถือ
          โทรศัพท์มือถือยุคใหม่ได้ผนวกรวมเข้ากับเทคโนโลยีด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ส่งข้อความสั้น (Short Message Service) รวมทั้งการท่องเว็บไซต์ด้วยเทคโนโลยี WAP (Wireless Application Protocol ) เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์ สามารถเปิดเว็บที่ถูกเขียนมาเพื่อโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะได้
            ปัจจุบันมีการนำเอาเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการสื่อสารมากขึ้นเช่น การใช้โทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปยังต่างประเทศ (Net2Phone) บริการนี้คือการโทรศัพท์จากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องรับโทรศัพท์จริงๆ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะมีอัตราค่าโทรศัพท์ที่ถูกกว่า และยังมีบริการ Net2Fax ซึ่งให้บริการ Fax เอกสารจากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่อง Fax จริงๆ ซึ่งมีอัตราค่าบริการที่ถูกกว่าเช่นกัน บริการนี้ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมมาติดตั้งและจะต้องจ่ายเงินก่อน ซึ่งเป็นการซื้อเวลาล่วงหน้า เมื่อมีการใช้บริการ จึงจะหักค่าใช้บริการจากที่ซื้อไว้
ในประเทศไทยได้นำเอาเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ช่องความถี่ที่ว่าง) มาใช้ในการให้บริการโทรศัพท์ทางไกล Ytel ทำให้ค่าบริการลดลง ด้วยการกดหมายเลข 1234 นำหน้ารหัสทางไกลและหมายเลขโทรศัพท์บ้าน ค่าบริการจะลดลงมากกว่าครึ่งด้วยคุณภาพของเสียงที่ชัดเจนยอมรับได้ เป็นต้น
            ในอินเทอร์เน็ตยังมีบริการด้านความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์และวิทยุ เราสามารถเลือกใช้บริการเหล่านี้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง จากแหล่งต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก เราสามารถรับความบันเทิงใหม่ล่าสุดได้พร้อมๆ กับประเทศอื่นๆ ทันทีเช่นเดียวกัน

3.กฎหมายอินเตอร์เน็ต


ตอนนี้ที่ประเทศไทยออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ 2550 โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 กรกฏาคม 2550 ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ้าของเว็บ เว็บมาสเตอร์ และนักไซเบอร์ ต่างต้องรู้ไว้ จะได้เตรียมตัวและป้องกันเสียแต่เนิ่น ๆ
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและ การดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิด พลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมี ลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก หน้า ๑๓) ในพระราชบัญญัติจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ หมวดความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และหมวด อำนาจของเจ้าหน้าที่ แต่ ณ ที่นี้ จะขอกล่าวเพียงบางมาตราที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เพื่อให้เว็บมาสเตอร์ และ เจ้าของเว็บไซต์ได้ระวังตัว จะได้ไม่เผลอกระทำผิดกฏหมายแบบไม่เจตนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการ รับ ส่ง อีเมล เพราะในพระราชบัญญัตินี้มีระบุไว้ว่า
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีถ้าเป็นการส่งอีเมล จะหมายถึงการส่งอีเมลที่แผงไวรัส โทรจัน หรือ เมลบอมบ์ (อีเมลที่แนบไฟล์ขนาดใหญ่มาก ๆ) เมื่อผู้รับเปิดอีเมลอ่านจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานสะดุด ช้าลง หรือทำให้เครื่องช้า แฮ้งค์ จนใช้งานไม่ได้ ครั้งต่อไปเมื่อคุณส่งเมล เช็คขนาดของไฟล์ที่แนบว่าใหญ่เกินไปมั้ย มีไวรัสอะไร หรือมีโปรแกรมที่น่าสงสัยติดไปด้วยหรือเปล่า เพราะหากก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน หรือ สร้างความเสียหายที่กระทบต่อความมั่นคง ระบบเศรษฐกิจ ของชาติ อัตราโทษจะเพิ่มสูงขึ้นอีกค่ะ ตรวจเช็คสักนิดก่อนส่งอีเมลนะคะ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง ส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการ ก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
การส่งอีเมล หรือ การ Forward Mail ที่เข้าข่าย รูปโป๊ ภาพลามก อนาจาร ภาพตัดต่อ ข้อความที่ไม่เป็นจริง ข้อความทำลายชื่อเสียง หรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย ข้อความที่กระทบต่อความมั่งคงของชาติ ข้อความเหล่านี้ถือว่าผิดกฏหมาย นอกจากนี้หากไม่ใช้การ Forward Mail แต่เป็นการโพสไว้ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ตามกระทู้ เว็บบอร์ด บล็อก (Blog) ยังเข้าข่ายกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ นี้ด้วย
นอกจากนี้หากท่านเป็นเจ้าของเว็บ เว็บมาสเตอร์ แล้วปล่อยให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นที่เว็บของท่าน ท่านจะมีความผิดฐานรู้เห็น ยินยอม ให้เกิดข้อความลามก อนาจาร ข้อความกล่าวเท็จพาดพิงให้บุคคลอื่นเกิดความเสียหาย ข้อความท้าทายอำนาจรัฐ หรือข้อความที่ก่อให้เกิดความไม่สงบ ในมาตรา ๑๕ ด้วย
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
เรื่องที่เจ้าของเว็บ เว็บมาสเตอร์ ควรต้องระวังในกฏหมาย พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 ยังมีอะไรอีกบ้าง อ่านต่อเลยค่ะ
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
หมายถึง การนำภาพที่สร้างความเสื่อมเสีย เสียหาย ทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย โดยภาพนั้นมาจากการตัดต่อ แล้วนำไปโพสไว้ตามเว็บบอร์ด เว็บไซต์ Forward mail ถือว่ามีความผิดตามมาตรา ๑๖ นี้

นอกจากนี้แล้วยังมีข้อควรระวังอีกข้อสำหรับเจ้าของเว็บรือเว็บมาสเตอร์ ในการเก็บข้อมูลผู้เข้าใช้งานในระบบเว็บไซต์ของตนเอง ทั้งชื่อ นามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลข IP เพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 90 วัน ตามกฏหมายมาตราที่ ๒๖
มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่า เก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่ง ให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้ สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็น เวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลงความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
สารสนเทศ โดย แยกเป็นหัวข้อได้ดังนี้
1. กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law)
2. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature Law)
3. กฎหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ (National Information Infrastructure Law)
4. กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Relate Crime)
5. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
6. กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)

4.การใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัย


หลักการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
ในปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทั่วโลก เพราะเป็นช่องทางที่สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงธุรกิจและพาณิชย์ในด้านต่างๆ ช่วยในเรื่องการลดระยะเวลาและต้นทุนในการติดต่อสื่อสาร แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้โดยทั่วไป ยังไม่เห็นความสำคัญ ของการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยเท่าที่ควร เนื่องจากยังขาดความรู้ในการใช้งานและวิธีป้องกัน หรืออาจคิดว่าคงไม่มีปัญหาอะไรมาก ในการใช้งาน แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับตัวเองแล้ว ก็ทำให้ตนเองเดือดร้อน เราสามารถป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ ดังนี้
1 ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว
2 ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น เช่น สำเนาบัตรประชาชน เอกสารต่างๆ รวมถึงรหัสบัตรต่างๆ เช่น เอทีเอ็ม บัตรเครดิต ฯลฯ
3 ไม่ควรโอนเงินให้ใครอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้จริงๆ
4 ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต เว้นเสียแต่ว่าได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ผู้ปกครอง และควรมีผู้ใหญ่หรือเพื่อนไปด้วยหลายๆ คน เพื่อป้องกันการลักพาตัว หรือการกระทำมิดีมิร้ายต่างๆ
5 ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ เด็กต้องปรึกษาพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยต้องใช้วิจารณญาณ พิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ขาย
6 สอนให้เด็กบอกพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าถูกกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (Internet Bullying)
7 ไม่เผลอบันทึกยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ อย่าบันทึก!ชื่อผู้ใช้และพาสเวิร์ดของคุณบนเครื่องคอมพิวเตอร์นี้อย่างเด็ดขาด เพราะผู้ที่มาใช้เครื่องต่อจากคุณ สามารถล็อคอินเข้าไป จากชื่อของคุณที่ถูกบันทึกไว้ แล้วสวมรอยเป็นคุณ หรือแม้แต่โอนเงินในบัญชีของคุณจ่ายค่าสินค้าและบริการต่างๆ ที่เขาต้องการ ผลก็คือคุณอาจหมดตัวและล้มละลายได้
8 ไม่ควรบันทึกภาพวิดีโอ หรือเสียงที่ไมเหมาะสมบนคอมพิวเตอร์ หรือบนมือถือเพราะภาพ เสียง หรือวีดีโอนั้นๆ รั่วไหลได้ เช่นจากการแคร็ก ข้อมูล หรือถูกดาวน์โหลดผ่านโปรแกรม เพียร์ ทู เพียร์ (P2P) และถึงแม้ว่าคุณจะลบไฟล์นั้นออกไปจากเครื่องแล้ว ส่วนใดส่วนหนึ่งของไฟล์ยังตกค้างอยู่ แล้วอาจถูกกู้กลับขึ้นมาได้ โดยช่างคอม ช่างมือถือ
9 จัดการกับ Junk Mail จังค์ เมล์ หรือ อีเมล์ขยะปกติ การใช้อีเมล์จะมีกล่องจดหมายส่วนตัว หรือ Inbox กับ กล่องจดหมายขยะ Junk mail box หรือ Bulk Mail เพื่อแยกแยะประเภทของอีเมล์ เราจึงต้องทำความเข้าใจ และเรียนรู้ที่จะคัดกรองจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตัวเอง เพื่อกันไม่ให้มาปะปนกับจดหมายดีๆ ซึ่งเราอาจเผลอไปเปิดอ่าน แล้วถูกสปายแวร์ แอดแวร์เกาะติดอยู่บนเครื่อง หรือแม้แต่ถูกไวรัสคอมพิวเตอร์เล่นงาน
10 จัดการกับแอดแวร์ สปายแวร์จัดการกับสปายแวร์แอดแวร์ที่ลักลอบเข้ามาสอดส่องพฤติกรรมการใช้เน็ตของคุณ ด้วยการซื้อโปรแกรมหรือไปดาวน์โหลดฟรีโปรแกรมมาดักจับและขจัดเจ้าแอดแวร์ สปายแวร์ออกไปจากเครื่องของคุณ แต่แค่มีโปรแกรมไว้ในเครื่องยังไม่พอ คุณต้องหมั่นอัพเดทโปรแกรมออนไลน์และสแกนเครื่องของคุณบ่อยๆด้วย เพื่อให้เครื่องของคุณปลอดสปาย ข้อมูลของคุณก็ปลอดภัย
* โปรแกรมล้าง แอดแวร์ และ สปายแวร์ จะใช้โปรแกรมตัวเดียวกัน ซึ่งบางครั้งเขาอาจตั้งชื่อโดยใช้แค่เพียงว่า โปรแกรมล้าง แอดแวร์ แต่อันที่จริง มันลบทิ้งทั้ง แอดแวร์ และสปายแวร์พร้อมๆ กัน เพราะเจ้าสองตัวนี้ มันคล้ายๆ กัน
11 จัดการกับไวรัสคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจำเป็นต้องมีโปรแกรมสแกนดักจับและฆ่าไวรัส ซึ่งอันนี้ควรจะดำเนินการทันทีเมื่อซื้อเครื่องคอม เนื่องจากไวรัสพัฒนาเร็วมาก มีไวรัสพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน แม้จะติดตั้งโปรแกรมฆ่าไวรัสไว้แล้ว ถ้าไม่ทำการอัพเดทโปรแกรมทางอินเทอร์เน็ต เวลาที่มีไวรัสตัวใหม่ๆ แอบเข้ามากับอินเทอร์เน็ต เครื่องคุณก็อาจจะโดนทำลายได้ 
12 ใช้ Adult Content Filter ในโปรแกรม P2Pสำหรับผู้ชื่นชอบการดาวน์โหลดผ่านโปรแกรมแชร์ข้อมูล P2P ให้ระวังข้อมูลสำคัญ ไฟล์ภาพ วีดีโอส่วนตัว หรืออะไรที่ไม่ต้องการจะเปิดเผยสู่สาธารณะชน ควรบันทึกลงซีดี ดีวีดี หรือเทปไว้ อย่าเก็บไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะคุณอาจถูกเจาะเอาข้อมูลเหล่านี้ไปได้
13 กรองเว็บไม่เหมาะสมด้วย Content Advisor ในอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอในโปรแกรมเว็บ บราวเซอร์ อย่าง อินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอ ก็มีการตั้งค่า คอนเทนท์ แอดไวเซอร์ หรือฟังก์ชั่น การกรองเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก ซึ่งจะทำให้เด็กไม่สามารถเปิดเข้าไปในเว็บไซท์ที่มีภาพและเนื้อหา โป๊ เปลือย ภาษาหยาบคาย รุนแรงได้ และยังมีการตั้งพาสเวิร์ด หรือรหัส สำหรับผู้ปกครอง เพื่อกันเด็กเข้าไปแก้ไขการตั้งค่าของคุณ ซึ่งคุณสามารถเข้าไปปลดล็อกได้ทุกเมื่อ ถ้าคุณจำเป็นต้องเข้าเว็บไซท์บางเว็บไซท์
http://saraded.blogspot.com/2012/08/blog-post_13.html

5.กูรูแนะใช้ "โซเชียลเน็ตเวิร์ค"


 ผอ.ไอ ที กลต.จี้รัฐเป็นกลางใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค ด้านปธ.ชมรมผู้ประกอบการเว็บโฮสติ้ง ยอมรับ ทวิตเตอร์เร็ว แต่ความน่าเชื่อถือน้อย ขณะที่ อ.นิติศาสตร์ชี้ปัจจัยโซเชียลเน็ตเวิร์คบูมมาจากรับปิดกั้นสื่อ...
 เมื่อกระแสสังคมบนโลกออนไลน์ ถูกพาดพิงถึงการใช้งานในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยศรีปทุม หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ จึงคว้าโอกาสนี้ จัดสัมมนาวิชาการในหัวข้อ การสร้างโรดแม็พวิถีชิวิตบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อให้บุคคลในเครือข่ายสังคมออนไลน์ตระหนักถึงความรับผิดชอบ สิทธิส่วนบุคคลมีจิตสำนึก และ มีจริยธรรมต่อการใช้งานในสังคมเครือข่าย พร้อมกับให้ทราบถึง ประโยชน์ โทษ โอกาสและความเหมาะสมในการใช้งานสังคมเครือข่ายรวมทั้งให้เกิดประโยชน์ต่อการ ดำเนินชีวิตประจำวัน นายกำพล ศรธนะรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) แสดงความเห็นว่า การใช้งานผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คสุ่มเสี่ยงมาก โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมา ที่มีการปิดกั้นเว็บไซต์โดยรัฐบาล ไม่ว่าจะปิด หรือบล็อกก็ตาม ขณะเดียวกัน การบล็อกเว็บที่ผ่านมา ไม่ได้บล็อกเฉพาะในส่วนที่มีปัญหา แต่กลับบล็อกจนเกิดความเดือดร้อนกับผู้ใช้งาน ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลต. แสดงความคิดเห็นต่อว่า รัฐบาล ภายใต้ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ทำไม่ถูกต้อง เพราะการกระทำที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตไม่สามารถเข้าเว็บ ที่ลิงค์ผ่านกันได้ โดยส่วนตัวไม่สนับสนุนการบล็อก ดังนั้น ต้องถามกลไกที่รัฐบาลกำหนดออกมา  นายกำพล เสนอแนะอีกว่า รัฐบาลควรดำเนินการกับเว็บไซต์ที่กระทำความผิด โดยต้องบล็อกส่วนที่เป็นภัยมากๆ และแสดงออกอย่างชัดเจนว่ายั่วยุปลุกระดม หรือหมิ่นสถาบัน ขณะเดียวกัน ต้องมีจริยธรรม มีคุณธรรม และความยุติธรรม มีกฎ กติกาอย่างชัดเจน เพื่อการปกป้องสังคมรอบด้าน และสร้างความสมานฉันท์ ตามแผนปรองดองของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม หากมีการโต้แย้งรัฐบาลต้องชี้แจงด้วยข้อมูล  นางภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ ญอง ประธานชมรมผู้ประกอบการเว็บโฮสติ้ง อธิบายว่า ข่าวสารที่ออกจากโซเชียลเน็ตเวิร์กกิ้ง รวดเร็วกว่าแหล่งอื่น ตัวอย่างกรณี ไมเคิล แจ๊คสัน เว็บข่าว รู้เร็วกว่าสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น (CNN) 45 นาที ขณะที่ บางเรื่องเชื่อถือได้ และไม่ได้ประธานชมรมผู้ประกอบการเว็บโฮสติ้ง อธิบายต่อว่า ทวิตเตอร์ ไม่มีอะไรเลย ถ้าไม่มีคนตาม ก็ติดต่อสื่อสารกันไม่ได้ ส่วนลิงค์ที่เป็นรูปภาพก็เป็นการเชื่อมต่อทุกอย่างไว้ด้วยกัน แล้วให้คนแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนร่วมกัน  นอกจากนี้ ยังทำให้ผู้ใช้งานมีโอกาสที่จะเข้าถึงบุคคลสำคัญที่ไม่เคยรู้จักได้ทั่วทุก มุมโลก เพียงแค่เพื่อนมีเครือข่ายอีกส่วนหนึ่ง นางสาวสาวตรี สุขศรี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ระบุว่า สาเหตุที่จำนวนผู้ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คเพิ่มขึ้น มี 3 ปัจจัย ได้แก่ 1.สื่อกระแสหลักตอบสนองความต้องการผู้รับไม่ได้ เพราะเป็นการแสดงออกด้านเดียว ทำให้เกิดความอึดอัดบางอย่าง 2.สื่อกระแสหลัก อาจโดนแทรกแซงจากภาครัฐ และ3.สื่อกระแสหลักจำนวนหนึ่งถูกปิดกั้น ไม่ให้มีการใช้ข้อมูลภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน และภาครัฐจะต้องจัดการกับปัญหาดังกล่าว อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ. ระบุต่อว่า สื่ออินเทอร์เน็ต หรือสื่อทางเลือก เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่ใช้สิทธิเสรีภาพได้ดี และตราบใดที่ผู้ใช้ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ก็น่าจะเป็นสังคมที่สร้างสรรค์ รู้เท่าทัน และใช้อย่างมีสติ ขณะเดียวกัน หากพบการกระทำผิดก็องนำเสนอไปทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อย่าไปใช้การดำเนินการที่ผิดกฎหมาย หรือศาลเตี้ย เพราะจะทำให้สังคมอยู่ลำบาก แม้ว่าโซเชียลเน็ตเวิร์คจะเป็นพื้นที่สาธารณะ แต่ไม่ได้หมายความว่า การเข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์จะสามารถโพสข้อความได้ตามใจชอบทั้งหมด ดังนั้น ผู้ใช้จึงควรมีวิจารณญาณ รวมทั้งตระหนักถึงประโยชน์และโทษที่จะตามมา เพื่อการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร มากกว่าที่จะตกเครื่องมือของโซเชียลเน็ตเวิร์คเสียเอง...

https://sites.google.com/site/52011020124inetg3/bthkhwam-xintexrnet

6.นักข่าวออนไลน์



นักข่าวออนไลน์" มนุษย์พันธุ์พิเศษที่ต้องติวเข้มทุกอย่าง
                     ชมรมผู้ผลิต ข่าวออนไลน์ เปิดฉากอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวออนไลน์ รุ่นที่ 1 กูรูถ่ายทอดเทคนิคพิชิตชัยบนเว็บข่าว ขณะที่ ผู้เข้าอบรม ปลื้มได้ใช้ประโยชน์จริงในงานเว็บข่าว...
เพิ่งจะผ่านไปหมาดๆ สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวออนไลน์ รุ่นที่ 1 โดยชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และความร่วมมือจาก บมจ. ทีโอที และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค ที่นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่จัดอ เช่นเดียวกับ การรวมตัวครั้งแรก ของทั้งนักข่าวภาคสนามแทบทุกสาย นักข่าวประจำเว็บไซต์ข่าว นักแปลข่าว และเว็บมาสเตอร์ แม้จะหลากหลายหน้าที่ แต่ก็ล้วนสำคัญ เพราะเป็นผู้ผลิตข่าวขึ้นเว็บไซต์ ดังนั้น บรรยากาศการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จึงถูกบีบ และอัดแน่นด้วยสาระความรู้ ตามหัวข้อที่ครอบคลุมรอบด้าน อาทิ หัวข้อเทคนิคการคิดประเด็นและใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอข่าวออนไลน์ โดย นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธ์ หัวข้อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสนทนากับบรรณาธิการข่าวออนไลน์ โดย นายนิรันดร์ เยาวภาว์ เว็บมาสเตอร์  HYPERLINK "http://www.manager.co.th"www.manager.co.th นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ที่ปรึกษาบก.เว็บไซต์  HYPERLINK "http://www.thairath.co.th"www.thairath.co.th และ นางสาวชุตินธรา วัฒนกุล เครือเนชั่น หัวข้อจริยธรรมและกฎหมายที่ควรรู้ในการเสนอข่าวออนไลน์ โดย นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษากฎหมายชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และหัวข้อนักข่าวออนไลน์กับการใช้งานโซเชียลมีเดียให้ถูกวิธี โดย นายมานะ ตรีรยาภิวัฒน์ อาจารย์คณะนิเทศศาตร์  ม.หอการค้าไทย และ นางสาวมรกต คนึงสุขเกษม บก.รข่าวไอที นสพ.กรุงเทพธุรกิ นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวในช่วงแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสนทนากับบรรณาธิการข่าวออนไลน์ว่า ตามปรากฎในวิทยานิพนธ์ เนื้อหาข่าวบนเว็บที่ผู้บริโภคอยากอ่านมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เบรกกิ้งนิวส์ ข่าวหน้า 1 และข่าวไอที ตามลำดับ พร้อมยกประโยคที่ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ เคยระบุว่าปี 2558 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า โซเชียลมีเดีย จะเป็นสื่อกระแสหลัก ส่วนหนังสือพิมพ์ก็ยังไม่ตาย นางสาวชุตินธรา วัฒนกุล เครือเนชั่น เปิดเผยว่า ขณะนี้ มีหลายเว็บใส่รูปนักข่าว หรือ คีย์เวิร์ด เข้าไปด้วย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์แบบ พร้อมการแลกเปลี่ยนข่าวด้วย เพื่อให้เกิดทราฟฟิกใหม่ๆ เข้ามาหา นอกจากนี้ เวลาทำข่าวออนไลน์ ยังต้องนำจุดเด่นของออนไลน์มาใช้ด้วย เช่นลิ้ง URL เพื่อให้เกิดความเป็นมัลติมีเดีย นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษากฎหมายชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวว่า จริยธรรมการนำเสนอข่าวออนไลน์ ประกอบด้วย 11 ข้อ ได้แก่ 1.ถ้าใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค อาทิ ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ค หลังได้ข้อมูลมา ต้องให้กลับไปมากเท่านั้น แต่ต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง 2.อย่าทำตัวเป็นแกงค์เตอร์ออนไลน์ คล้ายขบวนการล่าแม่มด 3.เพิ่มข้อมูลข่าวสารที่ดี 4.อย่าทำลายข้อมูลคนอื่น เมื่อบางครั้งแหล่งข่าวทวิตขึ้น แล้วรู้สึกว่ามันไม่ถูก 5.การสร้างตัวเองให้เป็นกระแสไม่ควรทำผิดกฎหมาย และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 หรือ พรบ.คอมฯ 6.แลกเปลี่ยนความรู้ 7.เก็บข้อมูลไม่ให้ลุกลาม 8.หาแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ แล้วทวิตออกไป หรือรีทวิต จากแหล่งที่ดีๆอออกไป 9.อย่าวางอำนาจ 10.ต้องรับผิดชอบ ข่าวที่ออกไป และ11. เป็นสุภาพชนอทั้งโลกความจริง และโลกออนไลน์ นายมานะ ตรีรยาภิวัฒน์ อาจารย์คณะนิเทศศาตร์  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยืนยันว่า ในอนาคต นักข่าวหนีไม่พ้นโซเชียลเน็ตเวิร์ค ทั้งนี้ กระบวนการจะเน้นการแลกเปลี่ยน ยิ่งแลกเปลี่ยนยิ่งเกิดการใช้ ยิ่งใช้มากยิ่งเกิดข้อมูล นอกจากนี้ นักข่าวออนไลน์ จำเป็นต้องเป็นหัวหอกในอนาคต วารสารสาสตร์ในอนาคต คือ การเล่าเรื่อง แต่จะเล่าผ่านอะไร ในโลกของอนาคตออนไลน์  อาจารย์คณะนิเทศศาตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อธิบายว่า ในโลกออนไลน์ คือ ความเร็ว แต่สิ่งที่มากับความเร็ว คือ ความผิดพลาด ความเร็วนำมาซึ่งความผิดพลาด และขาดทักษะบางอย่าง บางทีทวิตเตอร์เป็นเพียงข่าวลือ แต่ไม่มีความถูกต้อง ขณะที่โซเชียลมีเดียไม่ใช่พื้นที่ส่วนตั  นางสาวมรกต คนึงสุขเกษม บรรณาธิการข่าวไอที หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ แนะว่า การเริ่มต้นใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค ต้องมีสติ คิดให้รอบคอบก่อนว่า จะมีผลกระทบกับคนรอบข้าง หรือสะท้อนกลับมาที่ตัวเองหรือไม่ รวมทั้งแง่กฎหมายด้วย ที่สำคัญคือให้มองว่าเหมือนการใช้งานในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม หากโซเชียลมีเดีย เข้ามาแล้วจะต้องเดินไปกับมันบนพื้นฐานของความเป็นจริง และไม่จบลงเร็วๆ นี้ เพราะระยะพัฒนาการน่าจะประมาณ 10 ปี นอกจากการรับฟังความรู้แล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำข่าวออนไลน์อย่าง ละเอียด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ไปพร้อมๆ กัน รวมทั้ง ทำกิจกรรมเวิร์คชอปที่ผู้เข้าร่วมทุกคนได้ปฏิบัติงานจริง นายสมชาติ บุญวิทยา เว็บมาสเตอร์ หนังสือพิมพ์สยามกีฬา ยอมรับว่า สิ่งที่ประทับใจคือ การได้พบเพื่อนใหม่ และแลกเปลี่ยนความรู้รวมถึงการทำกิจกรรมร่วมกัน นอกจากนี้ ยังต้องการให้จัดเวิร์คช็อปเฉพาะด้าน เพื่อความเข้าใจเชิงลึก สำหรับหัวข้อที่สนใจเป็นพิเศษ คือ เทคนิคการคิดประเด็นข่าวและการนำเสนอข่าวออนไลน์ โดย นายประสงค์ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสนทนากับบก.ข่าวออนไลน์ เพราะได้รับรู้เทคนิคและนำมาใช้ได้จริง หัวข้อ เทคนิคการคิดประเด็นข่าว ที่นายประสงค์ เพราะอย่างน้อยทำให้รู้จักหยิบประเด็น รู้ว่าอย่ามองข่าวเพียงผิวเผิน และชอบตรงที่ข่าวเดียวกัน แต่เราเลือกหยิบประเด็นที่แตกต่างแล้วน่าสนใจขึ้นมาเว็บมาสเตอร์ หนังสือพิมพ์สยามกีฬา กล่าวขณะที่ นางสาววิภาวี บุญศิริชัย ผู้เรียบเรียงข่าว ส่วนพัฒนาเว็บไซต์ บมจ.อสมท. เล่าว่า ดีใจที่มาเจอคนทำงานลักษณะเดียวกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน ทั้งความรู้ ปัญหา รูปแบบการทำงานออนไลน์ เพื่อนำไปปรับใช้กับองค์กร นอกจากนี้ ยังประทับใจเนื้อหาการอบรมให้ก้าวทันเทรนด์เทคโนโลยี ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่าการทำข่าวออนไลน์ ต้องใช้จิตวิทยาประกอบด้วย  มองว่าต้องใช้จิตวิทยาในการทำเว็บ ทำอย่างไรให้น่าเชื่อถือ และฉีกออกจากชาวบ้าน อาจจะใส่ภาพกราฟฟิก เอามาเบรกข้อมูลยาว เพราะข่าวเว็บหากเทียบกับหนังสือพิมพ์ ต้องนำเสนอเปรี้ยงทีเดียวแบบกระชับ เร็ว ถูกต้อง เพราะทุกอย่างเป็นการแข่งขันผู้เรียบเรียงข่าว ส่วนพัฒนาเว็บไซต์ บมจ.อสมท.กล่าว  การอบรมครั้งนี้ มีเสียงกระซิบจากประธานชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ว่า ยังมีหัวข้อที่คณะผู้จัดตั้งใจจะบรรจุลงมาถูกตัดทิ้งไปหลายเรื่องด้วย พร้อมกับการนำเสนอผลงานเวิร์คช็อป การคิดประเด็นและการเสนอข่าวออนไลน์ จนทำให้ระยะเวลาการเข้าอบรมครั้งนี้ผ่านไปอย่างรวดเร็ว และปิดฉากลงอย่างสวยงาม โดยเหลือไว้เพียงผลงานที่หลังจากนี้ มนุษย์พันธุ์พิเศษ จะปั้นเว็บข่าวให้กลายเป็นอีกหนึ่งสื่อกระแสหลักที่น่าจับตามอง