วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

5.กูรูแนะใช้ "โซเชียลเน็ตเวิร์ค"


 ผอ.ไอ ที กลต.จี้รัฐเป็นกลางใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค ด้านปธ.ชมรมผู้ประกอบการเว็บโฮสติ้ง ยอมรับ ทวิตเตอร์เร็ว แต่ความน่าเชื่อถือน้อย ขณะที่ อ.นิติศาสตร์ชี้ปัจจัยโซเชียลเน็ตเวิร์คบูมมาจากรับปิดกั้นสื่อ...
 เมื่อกระแสสังคมบนโลกออนไลน์ ถูกพาดพิงถึงการใช้งานในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยศรีปทุม หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ จึงคว้าโอกาสนี้ จัดสัมมนาวิชาการในหัวข้อ การสร้างโรดแม็พวิถีชิวิตบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อให้บุคคลในเครือข่ายสังคมออนไลน์ตระหนักถึงความรับผิดชอบ สิทธิส่วนบุคคลมีจิตสำนึก และ มีจริยธรรมต่อการใช้งานในสังคมเครือข่าย พร้อมกับให้ทราบถึง ประโยชน์ โทษ โอกาสและความเหมาะสมในการใช้งานสังคมเครือข่ายรวมทั้งให้เกิดประโยชน์ต่อการ ดำเนินชีวิตประจำวัน นายกำพล ศรธนะรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) แสดงความเห็นว่า การใช้งานผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คสุ่มเสี่ยงมาก โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมา ที่มีการปิดกั้นเว็บไซต์โดยรัฐบาล ไม่ว่าจะปิด หรือบล็อกก็ตาม ขณะเดียวกัน การบล็อกเว็บที่ผ่านมา ไม่ได้บล็อกเฉพาะในส่วนที่มีปัญหา แต่กลับบล็อกจนเกิดความเดือดร้อนกับผู้ใช้งาน ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลต. แสดงความคิดเห็นต่อว่า รัฐบาล ภายใต้ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ทำไม่ถูกต้อง เพราะการกระทำที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตไม่สามารถเข้าเว็บ ที่ลิงค์ผ่านกันได้ โดยส่วนตัวไม่สนับสนุนการบล็อก ดังนั้น ต้องถามกลไกที่รัฐบาลกำหนดออกมา  นายกำพล เสนอแนะอีกว่า รัฐบาลควรดำเนินการกับเว็บไซต์ที่กระทำความผิด โดยต้องบล็อกส่วนที่เป็นภัยมากๆ และแสดงออกอย่างชัดเจนว่ายั่วยุปลุกระดม หรือหมิ่นสถาบัน ขณะเดียวกัน ต้องมีจริยธรรม มีคุณธรรม และความยุติธรรม มีกฎ กติกาอย่างชัดเจน เพื่อการปกป้องสังคมรอบด้าน และสร้างความสมานฉันท์ ตามแผนปรองดองของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม หากมีการโต้แย้งรัฐบาลต้องชี้แจงด้วยข้อมูล  นางภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ ญอง ประธานชมรมผู้ประกอบการเว็บโฮสติ้ง อธิบายว่า ข่าวสารที่ออกจากโซเชียลเน็ตเวิร์กกิ้ง รวดเร็วกว่าแหล่งอื่น ตัวอย่างกรณี ไมเคิล แจ๊คสัน เว็บข่าว รู้เร็วกว่าสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น (CNN) 45 นาที ขณะที่ บางเรื่องเชื่อถือได้ และไม่ได้ประธานชมรมผู้ประกอบการเว็บโฮสติ้ง อธิบายต่อว่า ทวิตเตอร์ ไม่มีอะไรเลย ถ้าไม่มีคนตาม ก็ติดต่อสื่อสารกันไม่ได้ ส่วนลิงค์ที่เป็นรูปภาพก็เป็นการเชื่อมต่อทุกอย่างไว้ด้วยกัน แล้วให้คนแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนร่วมกัน  นอกจากนี้ ยังทำให้ผู้ใช้งานมีโอกาสที่จะเข้าถึงบุคคลสำคัญที่ไม่เคยรู้จักได้ทั่วทุก มุมโลก เพียงแค่เพื่อนมีเครือข่ายอีกส่วนหนึ่ง นางสาวสาวตรี สุขศรี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ระบุว่า สาเหตุที่จำนวนผู้ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คเพิ่มขึ้น มี 3 ปัจจัย ได้แก่ 1.สื่อกระแสหลักตอบสนองความต้องการผู้รับไม่ได้ เพราะเป็นการแสดงออกด้านเดียว ทำให้เกิดความอึดอัดบางอย่าง 2.สื่อกระแสหลัก อาจโดนแทรกแซงจากภาครัฐ และ3.สื่อกระแสหลักจำนวนหนึ่งถูกปิดกั้น ไม่ให้มีการใช้ข้อมูลภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน และภาครัฐจะต้องจัดการกับปัญหาดังกล่าว อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ. ระบุต่อว่า สื่ออินเทอร์เน็ต หรือสื่อทางเลือก เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่ใช้สิทธิเสรีภาพได้ดี และตราบใดที่ผู้ใช้ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ก็น่าจะเป็นสังคมที่สร้างสรรค์ รู้เท่าทัน และใช้อย่างมีสติ ขณะเดียวกัน หากพบการกระทำผิดก็องนำเสนอไปทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อย่าไปใช้การดำเนินการที่ผิดกฎหมาย หรือศาลเตี้ย เพราะจะทำให้สังคมอยู่ลำบาก แม้ว่าโซเชียลเน็ตเวิร์คจะเป็นพื้นที่สาธารณะ แต่ไม่ได้หมายความว่า การเข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์จะสามารถโพสข้อความได้ตามใจชอบทั้งหมด ดังนั้น ผู้ใช้จึงควรมีวิจารณญาณ รวมทั้งตระหนักถึงประโยชน์และโทษที่จะตามมา เพื่อการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร มากกว่าที่จะตกเครื่องมือของโซเชียลเน็ตเวิร์คเสียเอง...

https://sites.google.com/site/52011020124inetg3/bthkhwam-xintexrnet

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น